
สิ่งที่ควรรู้ สอบ ก พ
ทำความรู้จัก สอบ ก พ หากพูดถึงการสอบ ทุกคนก็คงนึกถึงการสอบและคัดเลือกบุคคลเข้าไปทำงานในหน่วยงานราชการ ซึ่งงานราชการนั้นก็ถือว่าเป็นงานที่มั่นคงมีสวัสดิการที่ดีสำหรับตัวเราและครอบครัวของเราอีกด้วย ดังนั้นมาทำความรู้จักว่าการสอบคืออะไร สอบเพื่ออะไร สอบไปทำไมมา ทำความรู้จัก สอบ ก พ ต้องเตรียมตัวอย่างไรในการสอบ

สอบ ก.พ. คืออะไร ?
สอบ ก พ คือการสอบความรู้ความสามารถเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงานในหน่วยงานราชการการ สอบ ก.พ. จึงเปรียบเสมือนตัวกลางในการเชื่อมระหว่างคนที่สนใจทำงาน ในส่วนราชการกับหน่วยงานราชการหรือองค์กรภาครัฐ ถือเป็นการสอบที่ใช้ข้อสอบเป็นเครื่องมือวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของผู้สอบเป็นโอกาสที่ดีในการแสดงความสามารถของเรา
การสอบ ก.พ. จึงเป็นการสอบแข่งขัน เพื่อคัดเลือกบุคคลในระดับวุฒิการศึกษา และสาขาวิชาชีพที่แตกต่างกัน การสอบ ก.พ. จึงเปรียบเสมือนตัวกลางระหว่าง “ผู้ที่ต้องการทำงานราชการ” กับ “หน่วยงานราชการที่อาจขาดแคลนกำลังคน”
ซึ่งเนื้อหาที่ใช้ในการสอบประกอบด้วย วิชาความรู้ความสามารถทั่วไป วิชาภาษาไทยและวิชาภาษาอังกฤษ ในการสอบ วิชาความรู้ความสามารถทั่วไปจะมีตัวชี้วัดผลการสอบคัดเลือกแบ่งได้ 3 ตัวชี้วัดคือ
- วัดความสามารถทางด้านความมีเหตุผล
- วัดความสามารถทางด้านตัวเลข
- วัดความสามารถทางด้านภาษา
ความสำคัญของการสอบ ก.พ.
การสอบ ก.พ. มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบราชการ และมีความสำคัญกับผู้ที่ต้องการเข้ารับราชการ
- การคัดเลือกบุคลากรที่มีคุณภาพ : ช่วยให้หน่วยงานราชการได้รับบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และคุณสมบัติที่ดีเหมาะสมในการทำงาน
- การพัฒนาทักษะและความรู้ : การเตรียมตัวสอบช่วยให้ผู้สมัครได้พัฒนาทักษะความรู้ ที่จำเป็นสำหรับการทำงานราชการ
- ความเป็นธรรมในการคัดเลือก : มีคุณสมบัติตามที่กำหนด ลดความเสี่ยงของการมีอคติหรือการเลือกปฏิบัติ ให้โอกาศเท่าเทียมกันสำหรับทุกคน
ประโยชน์ของการสอบ ก.พ.
ประโยชน์ต่อ ผู้สมัคร
- โอกาศในการเข้ารับข้าราชการ : การสอบ ก.พ. คือการเปิดโอกาศให้ผู้สมัครเข้ารับข้าราชการ เป็นอาชีพที่มีความมั่นคงและมีสวัสดิการที่ดีให้ตนเอง และครอบครัว
- การประเมินความสามารถ : การสอบช่วยให้ผู้สมัครประเมินความสามารถของตนเอง และสามารถเตรียมตัวในการปรับปรุงทักษะที่จำเป็นต่อการทำงาน
- การพัฒนาความรู้ ทักษะ : การเตรียมตัวสอบทำให้ผู้สมัครได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะเฉพาะด้าน และความรู้ทั่วไป
ประโยชน์ต่อ หน่วยงานราชการ
เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน : บุคลากรที่ผ่านการสอบจะมีทักษะพื้นฐานความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานราชการ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
ประโยชน์ต่อ สังคม
- เสริมความเชื่อมั่นของระบบราชการ : ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบราชการ การคัดเลือกบุคลากรผ่านการสอบที่โปร่งใสและยุติธรรม
- สนับสนุนการพัฒนาของประเทศ : การมีบุคลากรที่มีคุณภาพในหน่วยงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของหน่วยงานราชการโครงการต่างๆ ให้เป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
- พัฒนาคุณภาพบริการสาธารณะ : สามารถให้บริการสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ดี
เนื้อหาของการสอบ ก.พ. มีทั้งหมดกี่ภาค สอบอะไรบ้าง ?
1. ภาค ก (ความรู้ความสามารถทั่วไป)
- ความสามารถในการใช้ภาษาไทย : การเขียนข้อความให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ประกอบด้วยการอ่านเพื่อจับใจความ และการใช้ถ้อยคำสำนวนไทยอย่างถูกต้อง
- ความสามารถในการใช้เหตุผล : การวิเคราะห์ข้อมูลและการแก้ไขปัญหาต่างๆ
- ความสามารถทางคณิตศาสตร์ : การวิเคราะห์ตัวเลขการคำนวณหรือการใช้หลักคณิตศาสตร์ในสถานการณ์ต่างๆ
2. ภาค ข (ความรู้เฉพาะตําแหน่ง)
- ขึ้นอยู่กับตำแหน่งงานที่ต้องการสมัครเช่นการจัดการ การบัญชี การเงินหรือกฎหมาย
3. ภาค ค (ความเหมาะสมกับตำแหน่ง)
- การประเมินอื่นๆหรือการสัมภาษณ์ เพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่งงาน
คุณสมบัติและอายุของผู้สมัคร
- สัญชาติ : ผู้สมัครต้องมีสัญชาติไทย
- อายุ : ผู้สมัครต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
- สุขภาพร่างกาย : สุขภาพร่างกายต้องแข็งแรงและไม่เป็นโรคต้องห้ามตามที่ ก.พ. กำหนดไว้
- ลักษณะต้องห้ามตามที่ ก.พ. กำหนด
- ไม่เป็นบุคคลที่เคยล้มละลาย
- ไม่เป็นผู้ที่เคยถูกปลดออก ไล่ออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
- ไม่เป็นผู้ที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำเรื่องทุจริตในการเข้าสอบราชการ
- ไม่เป็นผู้ต้องโทษถูกจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่โทษความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (ความผิดเล็กๆน้อยๆ ที่มีโทษเบาหรือโทษไม่ร้ายแรง)
สอบ ก.พ. ใช้วุฒิอะไรในการสมัครสอบ ?
- มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า : สำหรับตำแหน่งงานขั้นพื้นฐาน ตำแหน่งเช่น เจ้าหน้าที่อื่นๆหรือพนักงานธุรการที่ไม่ต้องการใช้วุฒิการศึกษาสูง
- วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) : สำหรับตำแหน่งงานวิชาชีพเฉพาะด้าน ตำแหน่งเช่น เจ้าหน้าที่ปฏิบัติด้านเทคนิค หรือช่างเทคนิค
- วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.) : สำหรับตำแหน่งงานวิชาชีพขั้นสูงและมีความรู้เฉพาะด้านมากขึ้น ตำแหน่งเช่น เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยวิศวกรหรือเจ้าหน้าที่เทคนิคขั้นสูง
- วุฒิปริญญาตรี : สำหรับตำแหน่งงานระดับปริญญาตรี เช่น นักพัฒนาชุมชน นักวิเคราะห์นโยบายและแผน หรือนักวิชาการต่างๆ
- วุฒิปริญญาโทหรือวุฒิที่สูงกว่า : สำหรับตำแหน่งงานระดับการศึกษาขั้นสูง ตำแหน่งเช่น อาจารย์ในสถาบันการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือนักวิจัย
สอบ ก.พ. ผ่านแล้วทำงานอะไรได้บ้าง ?
การสอบ ก.พ จะต้องสอบทั้งหมด 3 รอบคือ ภาค ก , ภาค ข , ภาค ค ซึ่งเมื่อสอบผ่านแล้วจะมีโอกาสสมัครเข้าทำงานตำแหน่งต่างๆของหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงานรวมถึงกระทรวงกรมหน่วยงานรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอิสระต่างๆ
ตัวอย่าง ตำแหน่งที่สามารถทำงานได้หลังจากสอบ ก.พ. ผ่าน
- การบริหารทั่วไป คือ ทำหน้าที่การจัดการดูแลงานทั่วไปของหน่วยงานราชการ เช่น งานเอกสารการประสานงานระหว่างหน่วยงานและการประชุมต่างๆ
- เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี : เป็นตำแหน่งสำคัญในหน่วยงานราชการที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการทางการเงินและการบัญชีการบริหารจัดการงบประมาณ การจัดทำบัญชีตรวจสอบรายรับรายจ่าย และจัดทำรายงานการเงินที่ถูกต้องตามระเบียบราชการ
- งานวิจัยและพัฒนา คือ การทำวิจัยและพัฒนาโครงการต่างๆเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการทำงานของหน่วยงานราชการ
- งานวิเคราะห์นโยบายและวางแผน คือ มีหน้าที่วิเคราะห์นโยบายของรัฐบาล และวางแผนดำเนินงานของหน่วยรัฐให้เป็นไปตามนโยบายกำหนด
- การจัดหาทรัพยากรบุคคล คือ การจัดการเรื่องการรับสมัคร และคัดเลือกบุคลากรพัฒนาทรัพยากรบุคคลในหน่วยงาน และดูแลการฝึกอบรม เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติมบทความ ทำความรู้จักกับอาชีพราชการมีอะไรบ้าง ?
ขั้นตอนการสมัครสอบ ก.พ.
๑. ตรวจสอบใบประกาศรับสมัคร : ตรวจสอบรายละเอียดประเภทของการสอบ หรือตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติผู้สมัครและระยะเวลาการรับสมัคร
๒. วิธีการสมัครสอบ : สมัครสอบผ่านระบบออนไลน์ที่เว็บไซต์ของสำนักงาน ก.พ.
๓. การชำระค่าสมัคร : ดำเนินการชำระสมัครโดยสามารถชำระผ่านธนาคารหรือช่องทางที่กำหนดไว้ในใบประกาศรับสมัคร
๔. การตรวจสอบสถานะการสมัคร : หลังจากผู้สมัครชำระเงินแล้ว ควรตรวจสอบสถานะการสมัครและพิมพ์ใบสมัครเก็บไว้เป็นหลักฐาน
การเตรียมตัวสอบ ก.พ.
- ฝึกทำข้อสอบ : อ่านหนังสือเตรียมสอบและทำข้อสอบแบบฝึกหัดข้อสอบเก่าๆเพื่อทำความคุ้นเคยกับรูปแบบของข้อสอบ
- ทบทวนความรู้ : ทบทวนวิชาเนื้อหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการสอบภาค ก และภาค ข
- ฝึกทำข้อสอบจำลอง : ฝึกทำข้อสอบจำลองเพื่อประเมินผลการทำข้อสอบของตนเองเพื่อปรับปรุงและพัฒนาจุดที่ยังไม่เข้าใจ
วันที่และสถานที่สอบ
- สำนักงาน ก.พ. จะประกาศวันเวลาสถานที่สอบบนเว็บไซต์หลังจากที่ปิดรับสมัคร โดยทั่วไปจะจัดขึ้นให้หลายจังหวัดทั่วประเทศ

ระเบียบการเข้าห้องสอบ

- ในวันที่ข้อสอบผู้เข้าห้องสอบจะต้องสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาในห้องสอบ

- นำบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งมีรูปถ่าย เลขประจำตัวประชาชน และลายมือชื่อ หรือใบอนุญาตขับรถนำมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ณ จุดลงทะเบียน

- เตรียมยางลบ ปากกา และดินสอที่มีความดำเท่ากับ 2B หรือมากกว่า

- ห้ามนำ เครื่องมือสื่อสาร เครื่องบันทึกเสียง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องบันทึกภาพ นาฬิกาทุกชนิด กระเป๋า รวมทั้งเอกสารหนังสือบันทึกข้อความต่างๆ เข้ามาในห้องสอบ

- ประพฤติตนเป็นสุภาพชน และแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย
การประกาศผลและผลสอบ
- ติดตามประกาศผลการสอบได้ทางเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.พ.
- ผู้สอบสามารถตรวจสอบผลด้วยหมายเลขประจำตัวสอบที่ได้รับตอนสมัคร
- กรณีที่ผู้สอบสอบผ่านจะมีการดำเนินการตามขั้นตอนเช่นการตรวจร่างกายหรือการสัมภาษณ์
หมายเหตุ : ผู้สอบควรตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติม หรือติดตามประกาศใหม่ๆได้ที่สำนักงาน ก.พ. อย่างสม่ำเสมอ